ข้ามไปเนื้อหา

พูนสวัสดิ์ ธีมากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พูลสวัสดิ์ ธีมากร)
พูนสวัสดิ์ ธีมากร
ชื่อเกิดพูนสวัสดิ์ ธีมากร
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2471
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
เสียชีวิต21 มีนาคม พ.ศ. 2545 (73 ปี)
คู่สมรสอภิรดี ธีมากร
อาชีพนักแสดง ดารา ผู้กำกับ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2545
ผลงานเด่นเรือนแพ (2504)
เพชรพระอุมา (2514)
พระสุรัสวดีตุ๊กตาเงินบทตลกในตัว
พ.ศ. 2506เอื้อมเดือน
สุพรรณหงส์กำกับภาพ/ถ่ายภาพยนตร์
พ.ศ. 2523 – ขุนเดช
ThaiFilmDb

พูนสวัสดิ์ ธีมากร (2 มิถุนายน พ.ศ. 2471 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2545) เป็นนักแสดง ผู้กำกับ ช่างภาพชาวไทย

ผู้กำกับภาพ /ถ่ายภาพยนตร์[แก้]

เริ่มงานแรกด้วยเรื่อง เรือนแพ (2504) ของอัศวินภาพยนตร์ หลังกลับจากการศึกษาฝึกงานที่ โรงถ่ายโทโฮ ประเทศญี่ปุ่น (ด้วยพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ) และได้ทำงานด้านการถ่ายทำให้กับอัศวินตลอดมา เช่น จำปูน (2507) ,เป็ดน้อย (2511) ,ละครเร่ (2512) ฯลฯ รวมทั้งภาพยนตร์นอกสังกัดที่มีชื่อเสียง เช่น เพชรพระอุมา (2514) ของ วิทยาภาพยนตร์ ซึ่งยกกองไปถ่ายทำถึงประเทศเคนยา

ผลงานแห่งความสำเร็จได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำด้านการถ่ายภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก ขุนเดช (2523)

ดารา /นักแสดง[แก้]

เริ่มแสดงละครเวทีในแพ.ศ. 2490 และเป็นนักแสดงละครเวทีที่ได้รับความนิยมมาก จนปีพ.ศ. 2494ได้เป็นดาราสมทบในภาพยนตร์ เช่น สุภาพบุรุษจากอเวจี ก่อนก้าวสู่จุดสูงสุด จากภาพยนตร์ เอื้อมเดือน (2506) ด้วยรางวัลตุ๊กตาเงินบทตลกในตัวยอดเยี่ยมประจำปีนั้น และอีกหลากหลายบทบาทที่ผู้ชมยังคงจดจำ เช่น อ้อมอกดิน (2508) รับบทครูสอนเต้นรำจอมกะล่อน ,[1]เพชรตัดเพชร (2509) บทสมุนผู้ร้ายใจอำมหิต ซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่าพอใจมากที่ได้เปลี่ยนมารับบทแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิงจนผู้ชมคาดไม่ถึง ,[2]16 ปีแห่งความหลัง (2511) รับบทครูค่ายมวยผู้หวังดี ที่สุรพล สมบัติเจริญมาอาศัยอยู่ด้วยก่อนเป็นนักร้องชื่อดัง ,[3]โทน (2513) ซึ่งเป็นทั้งผู้ถ่ายภาพยนตร์และร่วมแสดงเป็นฮิปปี้วัยรุ่นหน้าแก่เกินวัย[4]จนถึงงานช่วงหลัง ได้แก่ ทหารเรือมาแล้ว ,ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด ,ฝันบ้าคาราโอเกะ ฯลฯ

ผลงานทางโทรทัศน์มีทั้งรายการยอดฮิตของเมืองไทย ชูศรีโชว์ ของ ชูศรี โรจนประดิษฐ์ และ ดอกดินพาเหรด ของ ดอกดิน กัญญามาลย์ จนถึงละครชุดที่ประสบความสำเร็จมากเรื่อง สามเกลอ รับบท เจ้าคุณประสิทธิ์ฯ ทางช่อง 9 อสมท. และ บท เจ้าคุณวิจิตรฯ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 (2538)[5] หลังจากเคยแสดงเป็น กิมหงวน ฉบับภาพยนตร์ 16 มม. สามเกลอเจอล่องหน (2509)

นักร้อง /นักพากย์[แก้]

ขับร้องบันทึกแผ่นเสียง "พี่รักเจ้าสาว " ( สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ - สง่า อารัมภีร) ทำนองของเก่า ลาวราชบุรี ในละครเวทีคณะศิวารมย์

พากย์เสียงภาษาไทยให้ จินฟง เรื่อง เรือนแพ (2504) และพากย์เสียงตนเอง ใน เป็ดน้อย (2511)

ผลงาน[แก้]

ผลงานแสดงภาพยนตร์[แก้]

  • พ.ศ. 2494 : สุภาพบุรุษจากอเวจี
  • พ.ศ. 2498 : สองเกลอเจอลอตเตอรี่
  • พ.ศ. 2500 : นเรศวรมหาราช
  • พ.ศ. 2501 : สวรรค์มืด
  • พ.ศ. 2504 : ดรรชนีนาง
  • พ.ศ. 2505 : สุริยาที่รัก
  • พ.ศ. 2505 : สกาวเดือน
  • พ.ศ. 2506 : เอื้อมเดือน
  • พ.ศ. 2506 : พะเนียงรัก
  • พ.ศ. 2507 : พรายดำ
  • พ.ศ. 2507 : คมแสนคม
  • พ.ศ. 2507 : ภูติพิศวาส
  • พ.ศ. 2507 : สมิงบ้านไร่เด็กวัด
  • พ.ศ. 2508 : นางไม้
  • พ.ศ. 2508 : ลูกหญิง
  • พ.ศ. 2508 : เงิน เงิน เงิน
  • พ.ศ. 2508 : อ้อมอกดิน
  • พ.ศ. 2508 : แว่วเสียงยูงทอง
  • พ.ศ. 2509 : นางพรายคะนอง
  • พ.ศ. 2509 : ปีศาจดำ
  • พ.ศ. 2509 : แก้มทอง
  • พ.ศ. 2509 : สิงห์สันติภาพ
  • พ.ศ. 2509 : ปีศาจเมียน้อย
  • พ.ศ. 2509 : เพชรตัดเพชร
  • พ.ศ. 2510 : อาญารัก
  • พ.ศ. 2510 : บุหรงทอง
  • พ.ศ. 2511 : พิศวาสไม่วาย
  • พ.ศ. 2511 : ที่รักจ๋า
  • พ.ศ. 2511 : 16 ปีแห่งความหลัง
  • พ.ศ. 2512 : อภินิหารอาจารย์ทอง
  • พ.ศ. 2512 : ยอดรักยูงทอง
  • พ.ศ. 2512 : นางละคร
  • พ.ศ. 2512 : ขวัญหล้า
  • พ.ศ. 2512 : ไพรรัก
  • พ.ศ. 2512 : เด็กวัด
  • พ.ศ. 2512 : ทับสะแก
  • พ.ศ. 2512 : ดอนเจดีย์
  • พ.ศ. 2512 : ดาวรุ่ง
  • พ.ศ. 2513 : โทน
  • พ.ศ. 2513 : เพลงรักแม่น้ำแคว
  • พ.ศ. 2513 : วิญญาณดอกประดู่
  • พ.ศ. 2513 : เรารักกันไม่ได้
  • พ.ศ. 2513 : เงินจางนางจร
  • พ.ศ. 2513 : อินทรีทอง
  • พ.ศ. 2513 : ลูกหนี้ทีเด็ด
  • พ.ศ. 2513 : เทวีกายสิทธิ์
  • พ.ศ. 2514 : คนึงหา
  • พ.ศ. 2514 : จำปาทอง
  • พ.ศ. 2514 : สองฝั่งโขง
  • พ.ศ. 2514 : แก้วสารพัดนึก
  • พ.ศ. 2514 : เหนือพญายม
  • พ.ศ. 2515 : แม่ปลาบู่
  • พ.ศ. 2515 : ขวัญใจลูกทุ่ง
  • พ.ศ. 2515 : วิวาห์ลูกทุ่ง
  • พ.ศ. 2516 : ผาเวียงทอง
  • พ.ศ. 2516 : วางฟูซาน
  • พ.ศ. 2516 : สุดหัวใจ
  • พ.ศ. 2517 : กังหันสวาท
  • พ.ศ. 2519 : เดียมห์
  • พ.ศ. 2519 : ขุนศึก
  • พ.ศ. 2520 : หงส์ทอง
  • พ.ศ. 2520 : พ่อม่ายทีเด็ด
  • พ.ศ. 2520 : กูซิใหญ่
  • พ.ศ. 2521 : น้องเมีย
  • พ.ศ. 2521 : กัปตันเรือปู
  • พ.ศ. 2522 : แดร๊กคูล่าต๊อก
  • พ.ศ. 2522 : รักพี่ต้องหนีพ่อ
  • พ.ศ. 2523 : ทหารเกณฑ์ ภาค 2
  • พ.ศ. 2523 : เป๋อจอมเปิ่น
  • พ.ศ. 2523 : แผ่นดินแห่งความรัก
  • พ.ศ. 2524 : ยอดรักผู้กอง
  • พ.ศ. 2524 : คำอธิษฐานของดวงดาว
  • พ.ศ. 2524 : ทหารเรือมาแล้ว
  • พ.ศ. 2524 : เด็ดหนวดพ่อตา
  • พ.ศ. 2525 : สัตว์สาวผู้น่ารัก
  • พ.ศ. 2525 : อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง
  • พ.ศ. 2525 : กุนซืออ้วน
  • พ.ศ. 2525 : แววมยุรา
  • พ.ศ. 2526 : นักเลงข้าวนึ่ง
  • พ.ศ. 2526 : วันวานยังหวานอยู่
  • พ.ศ. 2527 : เดชผีดิบ
  • พ.ศ. 2527 : ป.ล.ผมรักคุณ
  • พ.ศ. 2527 : เพชรตัดเพชร
  • พ.ศ. 2528 : ตะวันยิ้มแฉ่ง
  • พ.ศ. 2529 : ไปรษณีย์สื่อรัก
  • พ.ศ. 2529 : พ่อจอมยวน แม่จอมยุ่ง
  • พ.ศ. 2529 : รักกันเล่น ๆ (ไม่เห็นเป็นไร)
  • พ.ศ. 2530 : เรารักกันนะ (ที่ปักกิ่ง)
  • พ.ศ. 2531 : พ่อปลาไหล แม่พังพอน
  • พ.ศ. 2531 : หวานมันส์ ฉันคือเธอ 2
  • พ.ศ. 2531 : มนต์รักเพลงทะเล้น
  • พ.ศ. 2531 : กระชุ่มกระชวย
  • พ.ศ. 2531 : ผิดฝาไม่ผิดตัว
  • พ.ศ. 2531 : ถ้าจะจีบก็ได้เลย
  • พ.ศ. 2531 : ความรัก
  • พ.ศ. 2531 : รักฤๅเสน่หา
  • พ.ศ. 2533 : เศรษฐีใหม่
  • พ.ศ. 2533 : 3 กบาล
  • พ.ศ. 2533 : ดีดสีและตีเป่า
  • พ.ศ. 2533 : ใช่แล้วหลุดเลย
  • พ.ศ. 2533 : พ่อไก้แจ้ แม่ไก่ชน
  • พ.ศ. 2533 : ครูไหวใจร้าย
  • พ.ศ. 2534 : ด้วยรักไม่รู้จบ
  • พ.ศ. 2534 : ขอลูกแก้วเป็นพระเอก
  • พ.ศ. 2534 : โฮ่ง
  • พ.ศ. 2534 : สยึ๋มกึ๋ย
  • พ.ศ. 2534 : วิมานมะพร้าว
  • พ.ศ. 2536 : ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด
  • พ.ศ. 2536 : ฮัลโหล ขอรบกวนหน่อยนะ
  • พ.ศ. 2537 : ม.6/2 ห้องครูวารี
  • พ.ศ. 2538 : บินแหลก
  • พ.ศ. 2538 : ยุทธการเด็ดดอกฟ้า
  • พ.ศ. 2539 : แรงเป็นไฟ ละลายแค่เธอ
  • พ.ศ. 2539 : อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2
  • พ.ศ. 2540 : แก๊งค์กระแทกก๊วนส์ เก๋ากวนเมือง
  • พ.ศ. 2540 : 18-80 เพื่อนซี้ไม่มีซั้ว
  • พ.ศ. 2540 : ฝันบ้าคาราโอเกะ

ผลงานแสดงละครโทรทัศน์[แก้]

ผลงานการถ่ายภาพ[แก้]

  • พ.ศ. 2512 : ละครเร่
  • พ.ศ. 2515 : ชู้
  • พ.ศ. 2515 : สุดสายป่าน
  • พ.ศ. 2516 : ความรักมักเป็นอย่างนี้
  • พ.ศ. 2516 : เจ้าสาวเรือพ่วง
  • พ.ศ. 2516 : วางฟูซาน
  • พ.ศ. 2517 : น้ำผึ้งขม
  • พ.ศ. 2517 : สามปอยหลวง
  • พ.ศ. 2518 : ทะเลทอง
  • พ.ศ. 2518 : นายอำเภอใจเพชร
  • พ.ศ. 2519 : 17 ทหารกล้า
  • พ.ศ. 2519 : เหมือนหนึ่งในฝัน
  • พ.ศ. 2519 : ทะเลฤๅอิ่ม
  • พ.ศ. 2520 : กูซิใหญ่
  • พ.ศ. 2521 : ขุนดอน
  • พ.ศ. 2521 : หญิงปรารถนา
  • พ.ศ. 2521 : แม่ยอดสร้อยพ่อยอดแซว
  • พ.ศ. 2521 : เดนนรก
  • พ.ศ. 2522 : สวรรค์ปิด
  • พ.ศ. 2522 : สามคนผัวเมีย
  • พ.ศ. 2522 : บัณฑิตเหลือเดน
  • พ.ศ. 2522 : อยู่อย่างเสือ
  • พ.ศ. 2522 : ลูกชั่ว
  • พ.ศ. 2523 : คู่โจร
  • พ.ศ. 2523 : มันมือเสือ
  • พ.ศ. 2523 : ผิดหรือที่จะรัก
  • พ.ศ. 2524 : ยอดรักผู้กอง
  • พ.ศ. 2524 : สิงห์คะนองปืน
  • พ.ศ. 2524 : รักครั้งแรก
  • พ.ศ. 2524 : สุดทางรัก
  • พ.ศ. 2525 : ยอดเยาวมาลย์
  • พ.ศ. 2525 : เพชฌฆาตหน้าเป็น
  • พ.ศ. 2525 : รักจั๊กจี้
  • พ.ศ. 2526 : เห่าดง
  • พ.ศ. 2527 : แพแตก

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

พูนสวัสดิ์ ธีมากร เป็นบุตรชายของร้อยโทเขียน ธีมากร นายทหารบก เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ 7 พี.เจ. ซึ่งเคยเป็นผู้อ่านประกาศและแถลงการณ์ของคณะราษฎร[6] และร่วมแสดงใน เลือดทหารไทย (2478)

ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางอภิรดี ธีมากร มีบุตรชายชื่อ อรรถพร ธีมากร ชื่อเล่น หนุ่ม ซึ่งเป็นดารานักแสดงในวงการบันเทิงไทยปัจจุบัน

มรณกรรม[แก้]

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2545

อ้างอิง[แก้]

  1. วีดิทัศน์ อ้อมอกดิน ,พันธมิตร 2546
  2. วีซีดี เพชรตัดเพชร ,พันธมิตร 2546
  3. วีซีดี 16 ปีแห่งความหลัง ,เมโทรพิคเจอร์ส 2543
  4. วีดิทัศน์ โทน ,พันธมิตร 2549
  5. พีระพงศ์ ดามาพงศ์ ท่องอดีตกับสามเกลอ เล่ม 1 แมทช์บอกซ์ กรุงเทพ 2546 ISBN 974-684-580-2 หน้า 84-89
  6. นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 283.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]